ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ฝุ่นละออง

particulate matter, particle matter (PM)

อนุภาคของแข็ง หรือหยดละอองของเหลวที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ  เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เช่น การจราจร การก่อสร้าง การเผาไหม้เชื้อเพลิงอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม

ฝุ่นละอองมีขนาดแตกต่างกันทั้งที่สามารถมองเห็นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีหน่วยวัดเป็น ไมครอน โดย 1 ไมครอนมีค่าเท่ากับ 1 ในล้านของเมตร หรือ 1 ในพันของมิลลิเมตร ฝุ่นละอองที่แขวนลอยในอากาศ โดยทั่วไปมีขนาดเล็กกว่า 100 ไมครอน

ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีหลายขนาด ถ้ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหรือต่ำกว่า 10 ไมครอน เรียกว่า พีเอ็ม 10 หรือ ฝุ่นละอองหยาบ (coarse particulate matter) ถ้ามีขนาดเท่ากับหรือต่ำกว่า 2.5 ไมครอน เรียกว่า พีเอ็ม 2.5 หรือฝุ่นละอองละเอียด (fine particulate matter)

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 18/03/2565

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015